Post Views: 397
เก๊กฮวยเป็นไม้ดอกไม้ประดับได้ เรียกชื่อสามัญว่า Chrysanthemum ชื่อท้องถิ่นของไทย เรียกว่าเบญมาศสวน หรือ เบญจมาศหนู อาจะเป็นเพราะดอกมีขนาดเล็กกว่าเบญจมาศ (อะไรที่เล็กๆ กว่าของปากติมักจะเรียกว่าหนู เพื่อให้ดูน่ารัก
เก๊กฮวยจัดอยู่ในวงศ์ Compositae เป็นวงศ์เดียวกับดอกเบญจมาศ ทานตะวัน ฯลฯ ดอกเก๊กฮวยที่นำมาใช้เป็นสมุนไพร มีสารสำคัญ ได้แก่ ฟลาโวนอยด์ สตาไคดรีน ไครแซนทีมิน โคลิน กรดอะมิโน อะดีนีน และน้ำมันหอมระเหย
ดอกของต้นเก๊กฮวยนำมาตากแห้งแล้วต้มกับน้ำเพื่อดื่มเป็นชาดอกเก๊กฮวย สรรพคุณทางยาคือ ช่วยลดไข้ แก้ร้อนใน (ดื่มแบบชาร้อน ไม่ใช่ดื่มแบบชาเย็น) ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ ช่วยระบายและการย่อยอาหาร (แต่สำหรับคนที่ท้องเสียง่าย เป็นโรคกระเพาะอาหารไม่ควรดื่มเก๊กฮวย เนื่องจากสารต่างๆ ที่อยู่ในเก๊กฮวยมีฤทธิ์เป็นกรด)
สารที่มีอยู่ในเก๊กฮวยสารมารถเพิ่มการไหลเวียนของเลือดได้ดี ส่งผลให้สามารถลดความดันโลหิตได้ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีส่วนป้องกันสาเหตุการเกิดมะเร็งต่างๆ
คนจีนใช้ผสมกับใบสะระแหน่เพื่อบรรเทาอาการไอ
ขอบคุณข้อมูลจาก : นิตยสารหมอชาวบ้าน ฉบับที่ 467