บอนเน่ เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่
- งาดำ(บดผง) 200 มก.
- ใบมะรุม(บดผง) 200 มก.
- โปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง 100 มก.
สรรพคุณและสารสำคัญของสมุนไพร
- งาดำ
ตามตำราแผนไทย เมล็ดงามีรสมัน บำรุงไขมัน และแก้เส้นเอ็น แก้เมื่อย บำรุงกำลัง อุดมไปด้วยสารอาหารประเภท โปรตีน คาร์โบไฮเดรต น้ำมัน ธาตุอาหารและวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินซี วิตามินอี ธาตุแคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัสและธาตุเหล็ก และมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง คือ สารเซซามิน (Sesamin) และสารเซซาโมลิน (Sesamolin)
สรรพคุณ
- บำรุงโลหิต
- บำรุงสมองและป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
- ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
- บำรุงผิวพรรณและกระดูก
การศึกษาและงานวิจัย
จากการผลการวิจัยพบว่า สารเซซามินมีฤทธิ์ในการเพิ่มการกำจัดสารพิษ ต้านแบคทีเรียและยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ อีกทั้งไม่เกิดการสะสมในร่างกาย เมื่อเทียบงากับนมในปริมาณที่เท่ากัน งาจะมีแคลเซียมสูงกว่านมถึง 3 เท่า
นักวิจัยของภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้วิจัยและค้นพบว่า สารเซซามินในงาดำสามารถช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง และช่วยฟื้นฟูเซลล์สมองที่เสื่อมจากการเจ็บป่วยหรือได้รับการกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุได้ โดย รศ. ดร.ปรัชญา คงทวีเลิศ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้ข้อมูลว่า จากการศึกษาวิจัยเริ่มมาตั้งแต่ปี 2553 จนพบว่า การวิจัยค้นพบว่าในเมล็ดงาดำ มีสารเซซามินซึ่งสามารถที่จะช่วยในการยับยั้ง การพัฒนาเซลล์ต้นกำเนิดของเซลล์สลายกระดูก ที่ให้เกิดโรคข้อเสื่อม โรคกระดูกพรุนได้ โดยจะเข้าไปทำให้แคลเซียมประสานกับกระดูกเพิ่มมากขึ้น
ด้านโรคมะเร็ง เซลล์มะเร็งที่แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วเพราะมีเส้นเลือดใหม่ที่เกิดขึ้นมาแล้วไปสร้างการหล่อเลี้ยงให้กับเซลล์มะเร็งจากนั้นก็จะแพร่กระจายไป แต่สารเซซามินจะเข้าไปปกป้องเซลล์ พร้อมกับตัดวงจรหรือลดเส้นเลือดใหม่ที่เป็นน้ำเลี้ยงให้กับเซลล์มะเร็ง พร้อมกับค่อย ๆ ฟื้นฟูสภาพเซลล์ให้กลับคืนมา จึงคาดว่างาดำสามารถฟื้นฟูและรักษามะเร็ง
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยเซซามินกับโรคหลอดเลือดสมองตีบ แตก อัมพฤกษ์ อัมพาต โดยได้สรุปงานวิจัยเกี่ยวกับการออกฤทธิ์ของสรรพคุณเซซามินว่า สารเซซามินมีความสามารถ ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด โดยพบว่ามี monounsaturated และ polyunsaturated fatty acids มีสารประกอบในกลุ่มของ lignans ที่สำคัญมากสองชนิดคือ Sesamin และ Sesamolin ซึ่งช่วยควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ช่วยป้องกันความดันโลหิตสูง และ ช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น การบริโภคงาซึ่งมีสารเซซามิน ป้องกันหัวใจวายเฉียบพลัน และเพิ่มเลือดในเส้นเลือดแดง
- ใบมะรุม
เป็นพืชที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหาร มีกรดอะมิโนที่จำเป็น 8 ชนิด และอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุรวมหลายชนิด ซึ่งจุดเด่นของมะรุมก็คือจะมีวิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม โพแทสเซียม และธาตุเหล็กในปริมาณที่สูงมาก โดยคุณค่าสารอาหาร อ้างอิงจากงานวิจัย พบว่า
- พบปริมาณวิตามิน A ในใบมะรุมสดมากกว่าของแครอท 3 เท่าและในใบมะรุมแห้งมากกว่าของแครอทถึง 10 เท่า
- พบปริมาณวิตามิน C ในใบมะรุมสดมากกว่าของส้ม 7 เท่า
- พบปริมาณแคลเซียมในใบมะรุมสดมากกว่าของนม 3 เท่าและในใบมะรุมแห้งมากกว่าของนม 17 เท่า
ดังนั้นใบมะรุมจึงเป็นพืชที่มีสารอาหารสูง ช่วยเสริมในผู้ป่วยขาดสารอาหาร เหมาะกับเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ใช้ทดแทนวิตามินรวมจากเคมี ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย บำรุงกระดูก เพิ่มมวลกระดูกช่วยรักษาโรคมะเร็งในกระดูก
การศึกษาและงานวิจัย
งานทดสอบทางด้านฤทธิ์ทางยาของมะรุมที่น่าสนใจมีดังนี้
1.งานวิจัยในสัตว์ทดลอง
- งานวิจัยฤทธิ์ในการลดระดับคลอเรสเตอรอล มีการวิจัยให้กระต่ายกินฝักมะรุมวันละ 200 กรัม/กิโลกรัม (น้ำหนักตัว)นาน 120 วัน โดยเปรียบเทียบกับกระต่ายกลุ่มที่ให้ทานอาหารไขมันมากและกินยา โลวาสเตทิน 6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม (น้ำหนักตัว)ต่อวัน พบว่ามีผลทำให้ระดับคอเลสเตอรอล ฟอสโฟไลพิด ไตรกลีเซอไรด์ VLDL LDL ลดลง ทั้งสองกลุ่ม จึงเชื่อได้ว่า มะรุมสามารถลดระดับคลอเรสเตอรอลได้เช่นเดียวกับยาโลวาสเตทิน
- ฤทธิ์ในการป้องกันมะเร็ง มีการวิจัยในหนูโดยให้หนูที่ถูกกระตุ้นโดยสาร ฟอบอลเอสเทอร์แล้วแบ่งหนูเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกให้ทานมะรุมเป็นอาหาร อีกกลุ่มกินอาหารตามปกติเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการทดลอง พบว่าหนูกลุ่มที่รับประทานมะรุมเป็นอาหารเกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากการกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มที่ทานอาหารปกติ โดยกลุ่มที่กินมะรุมมีเนื้องอกบนผิวหนังน้อยว่าอีกกลุ่มหนึ่ง จากการทดสอบนี้คณะผู้ทดสอบ เชื่อว่าสารเบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่ง และสารไนอาซิไมชิน จากมะรุมเป็นสาระสำคัญที่สามารถต้านการเกิดมะเร็งจากการกระตุ้นได้
- ฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือด มีงานวิจัยในหนูทดลองว่า ผงใบแห้งและสารสกัดเอทานอลจากเปลือกต้นสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดทั้งหนูทดลองที่ปกติและหนูทดลองที่เป็นเบาหวาน ฤทธิ์ป้องกันตับถูกทำลาย มีการวิจัยในหนูทดลองโดยให้ยาRifampicin (ไรแฟมพิซิน )แล้วแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรกให้สารสกัดแอลกอฮอลล์ของใบมะรุม กลุ่มที่สองให้สารซิลิมารีน (พบได้ในชาเขียว โกจิเบอร์รี่) กลุ่มที่สามไม่ให้ยาใดๆเลย เมื่อจบการทดลองและดูผลจากการตรวจชิ้นเนื้อตับทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า กลุ่มที่ให้สารสกัดมะรุมและกลุ่มที่ให้สารซิลิมารีน มีผลช่วยในการพักฟื้นของการถูกทำลายของตับจากยาได้
2. งานวิจัยในมนุษย์ สำหรับงานทดลองในมนุษย์ของมะรุม คือ งานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ยา Septillin เป็นยาที่สกัดจากพืช 6 คุณสมบัติ คือ มะรุม บอระเพ็ด มะขามป้อม ชะเอมเทศ Balsamoderdron.mukul (สมุนไพรอินเดีย) และเปลือกหอยสังข์ ซึ่งยา Septillin มีคุณสมบัติที่ดี ในเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน และการติดเชื้อที่ผิวหนัง
ผลการวิจัยจากคณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งส่วนใหญ่ทดลองในระดับเซลล์และสัตว์ พบว่า มะรุมนั้นมีฤทธิ์ลดความดัน ลดคอเลสเตอรอล ต้านการอักเสบ ป้องกันตับอักเสบ ลดน้ำตาลในเลือด ต้านออกซิเดชัน ต้านเชื้อแบททีเรีย ด้านการเกิดเนื้องอกและมะเร็ง
- โปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง
ถั่วเหลืองเป็นธัญพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่มีโปรตีนและวิตามินสูง ได้แก่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรทไขมัน ใยอาหาร วิตามิน B1 B2 B3 B6 B9 วิตามินE และวิตามินK เกลือแร่ พวกแคลเซียม เหล็ก สังกะสี ฟอสฟอรัส โพแทสเซียมและแมกนีเซียม โดยโปรตีนในถั่วเหลืองประกอบไปด้วยสารสำคัญที่มีชื่อว่า สารกลุ่ม ไอโซฟลาโวน (Isoflavones) เช่น เจนีสทีน (genistein) เดดซีน (daidzein) และไกลซิทีน (glycitein) เป็นสารไฟโตเอสโตรเจน (phytoestrogens) มีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) สารเหล่านี้ช่วยในเรื่อง
- ปรับสมดุลฮอร์โมนเพศหญิง ลดอาการวัยทองในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
- มีแคลเซียมสูง สร้างมวลกระดูก ป้องกันกระดูกพรุน ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง
- บำรุงโลหิต เสริมธาตุเหล็ก
- ลดระดับไขมันและระดับน้ำตาลในเลือด
- ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
การศึกษาและงานวิจัย
มีการศึกษาและวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มีข้อมูลระบุว่าการบริโภคถั่วเหลืองมีผลช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ (hot flashes) ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีระดับฮอร์โมนลดลงตามวัย ลดระดับไขมันในเลือดและยังมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ มีผลช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ มีผลต่อการเรียนรู้และจดจำ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น สำหรับงานวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์ของถั่วเหลืองต่อโรคมะเร็ง มีข้อมูลระบุว่าการบริโภคถั่วเหลืองมีผลช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม และลดการแบ่งตัวของจำนวนเซลล์มะเร็งเต้านมได้ แต่ก็มีบางงานวิจัยระบุว่าถั่วเหลืองมีผลเพิ่มความรุนแรงของมะเร็งได้เช่นกัน นักวิจัยจึงยังคงทำการศึกษาทางคลินิกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการบริโภคถั่วเหลืองกับมะเร็งเต้านมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งและความรุนแรงของมะเร็งเต้านมอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุกรรม ลักษณะการใช้ชีวิตประจำวัน การสูบบุหรี่ หรือการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
สำหรับการเตรียมถั่วเหลืองเพื่อรับประทานนั้น ควรเลือกวัตถุดิบที่สะอาดและมีคุณภาพ เพื่อให้ปลอดภัยจากสารพิษอะฟลาทอกซิน (aflatoxin) ที่พบได้มากในธัญพืชทั่วไป และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งตับ นอกจากนี้ควรระมัดระวังในผู้บริโภคบางรายที่อาจเกิดอาการแพ้ถั่วเหลืองได้ สำหรับการบริโภคถั่วเหลืองเพื่อให้ได้ผลต่อการป้องกันหรือรักษาโรคมะเร็ง อาจต้องมีการศึกษาข้อมูลทางคลินิกเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์หลากหลายชนิดในปริมาณที่เหมาะสม ควบคู่กับการออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และไม่เครียด ก็เป็นวิธีปฏิบัติที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ได้
สารอาหารที่แนะนำให้บริโภคประจำวันสำหรับคนไทยอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป (Thai Recommended Daily Intakes-Thai RDI)
ปริมาณของไขมันทั้งหมด ไขมันอิ่มตัว โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต ที่แนะนำให้บริโภคต่อวันคิดจากการเปรียบเทียบพลังงานที่ควรได้จากสารอาหาร ดังกล่าวเป็นร้อยละ 30, 10, 10 และ 60 ตามลำดับของพลังงานทั้งหมดหากพลังงานทั้งหมดที่ควรได้รับต่อวันเป็น 2,000 กิโลแคลอรี
(ไขมัน 1 กรัมให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี, โปรตีน 1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี, คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม
ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี)
สารอาหาร (Nutrient) | ปริมาณที่แนะนำต่อวัน (Thai RDI) | หน่วย (Unit) |
ไขมันทั้งหมด (Total Fat) | 65* | กรัม (g) |
ไขมันอิ่มตัว (Saturated Fat) | 20* | กรัม (g) |
โคเลสเตอรอล (Cholesterol) | 300 | มิลลิกรัม (mg) |
โปรตีน (Protein) | 50* | กรัม (g) |
คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด (Total Carbohydrate) | 300* | กรัม (g) |
ใยอาหาร (Dietary Fiber) | 25 | กรัม (g) |
วิตามินเอ (Vitamin A) | 800 | ไมโครกรัม อาร์ อี (μg RE) |
วิตามินบี 1 (Thiamin) | 1.5 | มิลลิกรัม (mg) |
วิตามินบี 2 (Riboflavin) | 1.7 | มิลลิกรัม (mg) |
วิตามินบี 6 (Vitamin B6) | 2 | มิลลิกรัม (mg) |
วิตามินบี 12 (Vitamin B12) | 2 | ไมโครกรัม (μg) |
วิตามินซี (Vitamin C) | 60 | มิลลิกรัม (mg) |
วิตามินดี (Vitamin D) | 5 | ไมโครกรัม (μg) |
วิตามินอี (Vitamin E) | 10 | มิลลิกรัม แอลฟา–ที อี (mgα-TE) |
วิตามินเค (Vitamin K) | 80 | ไมโครกรัม (μg) |
แคลเซียม (Calcium) | 800 | มิลลิกรัม (mg) |
เหล็ก (Iron) | 15 | มิลลิกรัม (mg) |
โซเดียม (Sodium) | 2,400 | มิลลิกรัม (mg) |
บอนเน่ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ขาวลออ
จากการตรวจข้อมูลด้านโภชนาการและคุณค่าทางด้านสารอาหารต่างๆ บอนเน่เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ประกอบไปด้วยสารอาหารประเภท
โปรตีน (Protein) 40.2 g/100g
คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด (Total Carbohydrate) 34.7 g/100g
ใยอาหาร (Dietary Fiber) 19.80 g/100g
โคเลสเตอรอล (Cholesterol) 0 mg
อื่นๆ ได้แก่ วิตามินบี โซเดียม ธาตุเหล็ก และแคลเซียม (Calcium) สูงถึง 1533 mg/100g
โดยบอนเน่ 1 แคปซูล มีปริมาณ 500 มก. ดังนั้น จะประกอบไปด้วยสารอาหาร ต่างๆ คือ
- โปรตีน (Protein) 201 mg/cap
- คาร์โบไฮเดรตทั้งหมด (Total Carbohydrate) 173.5 mg/cap
- ใยอาหาร (Dietary Fiber) 99 mg/cap
- โคเลสเตอรอล (Cholesterol) 0 mg/cap
- อื่นๆ ได้แก่ วิตามินบี โซเดียม ธาตุเหล็ก และแคลเซียม (Calcium) สูงถึง 7.665 mg/cap
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบอนเน่ เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สารอาหารและวิตามินสูง โดยเฉพาะในกลุ่มโปรตีน คาร์โบไฮเดรท วิตามินและแคลเซียม ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยเกี่ยวกับการบำรุงกระดูก สร้างมวลกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย บำรุงสมองและป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด อีกทั้งมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันมะเร็งอีกด้วย ดังนั้น จึงเหมาะสมตั้งแต่วัยรุ่นที่ต้องการสารอาหารและแคลเซียมในการเจริญเติบโตสร้างเสริมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และโดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ต้องการโปรตีน แคลเซียมสูงถึง 1000 มก./วัน เพื่อซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาที่เกี่ยวกับการย่อย การดูดซึมโปรตีนและสารอาหารจากนมวัวและเนื้อสัตว์ ผู้ที่ไม่ทานเนื้อสัตว์หรือทานมังสวิรัติ ผู้หญิงในวัยหมดประจำเดือนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคกระดูกพรุน มีอาการร้อนวูบวาบ รวมถึงผู้ที่ขาดสารอาหารด้วย
ที่มา
- https://www.cri.or.th/en/20100504.php
- http://www.trueplookpanya.com/blog/content/50654
- https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/396/ถั่วเหลือง–ประโยชน์/
- https://www.bkdah.com/article/2/มะรุม–จากงานวิจัย–ม–มหิดล
- https://www.lcdtvthailand.com/webboard/index.php?action=printpage;topic=376432.0
- http://www.fhpprogram.org/general-information/nutrition-guide
- http://kingsesamin.com/เซซามินกับโรคเส้นเลือด/