เมื่อ "กัญชา" เสรี ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

1570 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เมื่อ "กัญชา" เสรี ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

เมื่อ "กัญชา" เสรี ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย
หลายคนสงสัยทำไมพอปลดล็อคกัญชาแล้ว มีกระแสออกมาว่ามีผลกับร่างกาย เหตุเกิดจากอะไร แล้วข้อควรระวัง หรือข้อห้ามใช้ในบุคคลต่างๆ อย่างไร เรามาไขข้อข้องใจกันค่ะ

กัญชงหรือ Hemp มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Cannabis Sativa ใบมีลักษณะยาว-เรียว มี 7-11 แฉก ลำต้นสูงเรียว มีสาร THC ไม่เกิน 1% สาร CBD เกิน2% นิยมนำมาแปรรูปในงานสิ่งทอ

กัญชาหรือ Marijuana มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Cannabis Indica ใบมีลักษณะกว้าง-สั้น มี 5-7 แฉก ลำต้นเตี้ย-พุ่ม
มีสาร THC เกิน 1% สาร CBD ไม่เกิน 2% นิยมมาสกัดเป็นยารักษาโรคและใช้ในทางการแพทย์

“รากไอ ใบเสลด เมล็ดขี้ตา” คำกล่าวสำหรับสายควันแล้วเป็นที่รู้กันว่าการใช้กัญชาในทางสันทนาการ จะใช้ช่อดอก หรือที่เรียกภาษาบ้านๆ ว่า “กระหลี่กัญชา” เมื่อการใช้ช่อดอกกัญชาในทางสันทนาการ มีรากปนอยู่จะทำให้ระคายคอ ไอ มีใบจะทำให้เสลดเฟื่อง มีเมล็ดจะทำให้ขี้ตามาก

ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 มีการปลดล็อคกัญชาแล้ว และกฏระเบียบต่างๆ ค่อยๆทยอยออกมา แนะนำให้ติดตามข้อปฏิบัติ ข้อบังคับต่อไป

หลังจากปลดล็อค มีผู้ใช้กัญชาในปริมาณที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดอาการต่างๆ จากการใช้กัญชา เนื่องจากไม่ความรู้ไม่มีความเข้าใจ ในปริมาณการใช้ที่ปลอดภัย รวมทั้งข้อควรระวังหรือข้อห้ามใช้ในบุคคลต่างๆ และอาจจะเข้าใจว่ากัญชาช่วยเพิ่มรสอาหารเหมือนการใช้ผงชูรส เพื่อเพิ่มความอร่อยมากขึ้น แต่การใส่ใบกัญชาในปริมาณที่มากเกินความพอดี (ปกติแนะนำ 2 ใบ สำหรับอาหาร 1 มื้อ) และมีการใช้ความร้อนกับใบกัญชาในเวลามากกว่าปกติ สารจาก THCA เมื่อโดนความร้อนจะเปลี่ยนสภาพเป็น THC ซึ่งสารนี้ถ้ามีปริมาณมากจะทำให้เมาหรือแพ้ได้

จากข้างต้น คนไทยใช้กัญชาในการปรุงอาหารมาช้านาน ปลูกอยู่หลังครัว ใช้เป็นพืชผักสำหรับปรุงรสชาดของอาหาร อยากใช้ก็ไปเด็ดใบกัญชา 2-3 ใบใส่ในอาหารที่ทำ เป็นภูมิปัญญาของคนไทยที่ใช้ เพื่อได้ประโยชน์ กินข้าวได้(อยากอาหาร) ช่วยให้นอนหลับ ไม่ทำให้เกิดการเสพติด สาร THCA เมื่อถูกความร้อนจะกลายเป็น THC ซึ่งมีสารเมา การปรุงอาหารจำพวก แกง น้ำซุป จึงไม่ควรต้องเคี่ยวใบกัญชา แต่ใช้วิธีการเหมือนการโรยผักชีลงในแกงจืดหรือน้ำซุป เมื่อ แกง แกงจืด หรือน้ำซุปเดือดให้โรยใบกัญชา 2 ใบลงในหม้อแล้วปิดฝา ยกลงจากเตา เท่านี้สารเมาก็จะก็จะละลายออกมาไม่มาก

ส่วนในทางการแพทย์แผนไทย มีการนำมาใช้สำหรับตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสม 16 ตำรับ ยกตัวอย่างเช่น ยาสุขไสยาสน์ ช่วยให้นอนหลับ เจริญอาหาร (กินอิ่ม นอนหลับ ในยาตำรับนี้มีส่วนผสมของใบกัญชาไม่มาก และมีสมุนไพรอื่นเป็นส่วนประกอบ ที่ลดอาการเมาได้(หรือยาแก้ผลข้างเคียง) อยู่ในตำรับแล้ว จึงมั่นได้ว่าตำรับยาฯ ที่มีการใช้ปลอดภัย และใช้กันมานานแล้ว

การใช้กัญชาที่ดี ควรใช้ใน
1.ใช้ในทางการแพทย์ รักษาผู้ป่วย ภายใต้การดูแล แนะนำของบุคลากรทางการแพทย์
2.ใช้ในการครัวเรือน นำไปปรุงรสอาหาร ควรใช้ใบสดหรือแห้ง(ไม่ควรใช้สารสกัด) 1-2 ใบต่ออาหาร 1 เมนู และไม่ควรรับประทาน เกินวันละ 5-8 ใบต่อวัน (แนะนำใช้เริ่มต้น 1/2 ใบต่อวัน)
3.ไม่ควรนำไปใช้เพื่อสันทนาการ เพราะกัญชาเมื่อผ่านความร้อน สาร THCA จะเปลี่ยนเป็นสาร TCA ที่เป็นสารเมา ทำให้ติดกัญชาได้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้