กระชายดำ

2366 จำนวนผู้เข้าชม  | 

กระชายดำ

กระชายดำ (Kaempferia parviflora) หรือที่เรามักเรียกกันว่า “ขิงดำ” อยู่ในวงศ์เดียวกับ “ขิง” (ZINGIBERACEAE) กระชายมี 3 ชนิด คือ กระชายเหลือง,กระชายดำ, กระชายแดง กระชายดำ เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าใต้ดินรากสะสมอาหารมีลักษณะเป็นข้อสั้นๆ ไม่ยาวเหมือนกับกระชายธรรมดา เนื้อในหัวอาจเป็นสีม่วงหม่นหรือสีดำ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ กว้าง 7-15 ซม. ยาว 30-35 ซม. แทงออกจากหัวที่อยู่ใต้ดิน ดอกออกจากยอด ช่อละหนึ่งดอก ดอกมีสีชมพูอ่อนๆ ริมปากดอกสีขาว เส้าเกสรสีม่วง เกสรสีเหลือง ปัจจุบันมีการนไปใช้ทำเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ น้ำกระชายดำ ลูกอมกระชายดำ ไวน์กระชายดำ ผลิตเป็นยาสมุนไพร กระชายดำแคปซูล ยาน้ำกระชายดำ และกาแฟกระชายดำ ลักษณะทั่วไปและสรรพคุณของกระชายดำ หัว รสเผ็ดร้อนขมหอม ใช้สำหรับ แก้ปากเปื่อย ปากแตกเป็นแผล ขับระดูขาว แก้ใจสั่น แก้ปวดมวนในท้อง แก้บิดมูกเลือด บำรุงกำลัง ทำให้จิตใจกระชุ่มกระชวย มีคุณสมบัติคล้ายโสมจีน ตำรับยาไทย มักใช้ประกอบเป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย ยาต้มหรือยาดอง มีส่วนประกอบของสมุนไพรอื่นเช่น ม้ากระทืบโรง โด่ไม่รู้ล้ม แซ่ม้าทะลาย กำแพงเจ็ดชั้น กำลังเสือโคร่ง กำลังวัวเถลิง เถาเอ็นอ่อน ชะเอมไทย เป็นต้น จากเอกสารงานวิจัยพบว่า กระชายดำมีสรรพคุณมากมาย และสามารถช่วยรักษาโรคต่างๆ ได้เกือบ 100 ชนิด ในปี 2560 ครม.สนับสนุนการขับเคลื่อนพืชสมุนไพร โดยสนับสนุนและการพัฒนาโปรดักต์แชมเปี้ยนปี 2560 อย่างครบวงจร มีสมุนไพร 4 ชนิด คือ กระชายดำ ขมิ้นชัน ไพล และบัวบก ข้อควรระวังในการใช้กระชายดำ ห้ามใช้กระชายดำในเด็กและในผู้ป่วยที่เป็นโรคตับ ผลข้างเคียงของกระชายดำ การรับประทานในขนาดสูงอาจทำให้เกิดอาการใจสั่นได้ การรับประทานเหง้ากระชายดำติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เหงือกร่น กระชายดำสามารถรับประทานได้ทั้งหญิงและชายโดยไม่เกิดผลข้างเคียงใด ๆ ยิ่งสำหรับผู้สูงอายุก็พบว่านิยมใช้กันมานานมากแล้ว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้