10 จำนวนผู้เข้าชม |
สถานการณ์โรค NCDs ทั่วโลกและประเทศไทย
ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2565 ระบุว่า ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs ถึง 41 ล้านคนต่อปี คิดเป็น 74% ของการเสียชีวิตทั้งหมด สำหรับประเทศไทย สถานการณ์น่าเป็นห่วงไม่แพ้กัน คนไทยเสียชีวิตจากโรค NCDs มากกว่า 400,000 คนต่อปี คิดเป็น 81% ของการเสียชีวิตทั้งหมด
โรค NCDs คืออะไร?
NCDs (Non-Communicable Diseases) หรือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นกลุ่มโรคที่ไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้ แต่เกิดจาก พฤติกรรมการใช้ชีวิตในระยะยาว โดยโรค NCDs ที่เป็นสาเหตุเสียชีวิตมากที่สุด ได้แก่
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคมะเร็ง
- โรคเบาหวาน
- โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง
ปัจจัยเสี่ยงหลักของโรค NCDs
โรค NCDs ส่วนใหญ่เกิดจาก พฤติกรรมที่เราทำเป็นประจำในชีวิตประจำวัน โดยบางครั้งเราอาจไม่ทันรู้ตัวว่า พฤติกรรมเหล่านี้กำลังสะสมความเสี่ยงไว้ทีละน้อย
สิ่งสำคัญคือ...
พฤติกรรมเหล่านี้ เราเลือกได้เอง และสามารถปรับเปลี่ยนได้ เพื่อป้องกันไม่ให้โรคมาเยือนในอนาคต
ตัวอย่างพฤติกรรมเสี่ยงที่ควรระวัง :
- การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ
- การสูบบุหรี่
- การบริโภคน้ำตาลมากเกินไป เช่น น้ำอัดลม ชานมไข่มุก
- การไม่ออกกำลังกาย และใช้ชีวิตแบบเนือยนิ่ง
- การสัมผัสมลพิษ เช่น ฝุ่น PM2.5 เป็นประจำ
วิธีป้องกันโรค NCDs ที่ทำได้ทันที
- ลด ละ เลิก บุหรี่และแอลกอฮอล์
- ลดหวาน มัน เค็ม และอาหารแปรรูป
- ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ และหลีกเลี่ยงน้ำอัดลม
- ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที
- นอนหลับให้เพียงพอและลดความเครียด
- ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
สุขภาพดี...ไม่ใช่เรื่องไกลตัว
NCDs เป็นโรคที่คุณสร้างได้ แต่ก็เป็นโรคที่คุณหยุดได้เช่นกัน
เริ่มดูแลตัวเองวันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีในวันข้างหน้า